วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ไวรัสคอมพิวเตอร์

ไวรัสคอมพิวเตอร์
ไวรัสคอมพิวเตอร์ (computer virus)  หรือเรียกสั้นๆว่า  ไวรัส  คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่บุกรุกเข้าไปในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ใช้ ส่วนมากมักจะพัฒนาเพื่อสร้างความเสียหานให้กับระบบของเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นๆ ซึงไวรัสแบบออกเป็น 6 ประเภท ดังนี้
 1.            ไวรัสพาราสิต (parasitic virus) ไวรัสประเภทนี้จะเริ่มทำงานและจำลองตัวเองเมื่อมีการเรียกใช้ไฟล์ที่ติดไวรัส ไวรัสคอมพิวเตอร์โดยส่วนมากจะเป็นประเภทนี้
 2.            ไวรัสบูตเซกเตอร์ (boot sector virus) ไวรัสประเภทนี้จะฝังตัวลงไปในบูตเซกเตอร์ แทนที่คำสั่งที่ใช้ในการเริ่มต้นทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ เมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นใช้งาน ไวรัสประเภทนี้จะโหลดตัวเองเข้าไปที่หน่วยความจำก่อนที่จะโหลดระบบปฏิบัติการ หลังจากนั้นจะสำเนาตัวเองไปฝังอยู่กับไฟล์อื่นๆด้วย
 3.            ไวรัสสเตลท์ (stealth virus) ไวรัสประเภทนี้เป็นไวรัสที่มีความสามารถในการเปลี่ยนแปลงตังเองให้อยู่ในรูปแบบที่โปรแกรมป้องกันไวรัวต่างๆตรวจไม่พบ และเมื่อไปติดกับโปรแกรมใดแล้วจะทำให้โปรแกรมนั้นมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ
 4.            ไวรัสโพลีมอร์ฟิก (polymorphic virus) ไวรัสประเภทนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงตัวเองทุกครั้งที่ติดต่อไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะส่งผลทำให้ไวรัสประเภทนี้ตรวจพบได้ยาก
 5.            ไวรัสแมโคร (macro virus) ไวรัวประเภทนี้จะมีผลกับ Macro Application (มักจะพบในโปรแกรมประเภท Word Processors) เมื่อผู้เรียกใช้ไฟล์ที่มีไวรัสติดมาด้วย จะทำให้ไวรัสไปฝักตัวอยู่ที่หน่วยความจำจนเต็มซึ่งจะทำให้การทำงานของคอมพิวเตอร์ช้าลง โดยอาจส่งผลเสียกับข้อมูลที่เก็บอยู่ในคอมพิวเตอร์ได้

 6.            หนอนอินเทอร์เน็ต (worms)เป็นไวรัสคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่งที่จะติดต่อกันได้ทางอินเทอร์เน็ตสามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว โดยไวรัสชนิดนี้จะคัดลอกตัวเองซ้ำแล้วใช้ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นสื่อในการแพร่กระจายซึ่งโดยทั่วไปจะมากับอีเมล ตัวอย่างของหนอนอินเทอร์เน็ต คือ  Adore โดยจะทำการค้นหาเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีระบบปฏิบัติการ Linux หลังจากนั้นจะสร้างช่องทางในคอมพิวเตอร์เพื่อให้แฮกเกอร์ (hacker)สามารถเข้าไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นได้
       ที่มา : หนังสือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 2 หน้า 13 พ.ศ.2551 เเต่งโดย อารียา ศรีประเสริฐและคณะ

วันอังคารที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2558

สู่เพื่อแม่

  วันนี้เป็นวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2558 ได้มีโอกาศเล่าเรื่อง ถึงเเม่ของฉัน ในเรื่อง สู่เพื่อเเม่ ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณพ่อกับเเม่ที่เลี้ยงเลี้ยงหนูมาตั้งเเต่ หนูอยู่ในท้องเเม่ 9 เดือน ตลอดเวลาเราอยู่ในท้องเเม่ เเม่ต้องอดอาหารที่ชอบเพราะมันเป็นอันตรายต่อลูกเเม่ก้ยอมอดมาตลอด 9 เดือน เวลานอน ก็พลิกตัวเเต่ล้ะที่ก็ต้องระวังลูก เวลาลูกดิ้นเเต่ล้ะครั้งเเม่เจ็บเเต่เเม่ก้มีความสุข พอตอนคลอด เเม่เเสนเจ็บปวดที่คลอดเราออกมา ไม่ว่าจะคลอดเองหรือผ่าตัดเราออกมาเเม่เเสนเจ็บปวดจนเกือบเอาชีวิตไม่รดบางครั้งก็เสียชีวิตในการคลอดเเต่ลูกออกมาอย่างปลอดภัย เเต่เเม่ก็ทนเพื่อให้้เราได้คลอดออกมาอย่างปลอดภัย เเละครบทั้ง 32 พอได้ออกมาลืมตาดูโลก อีก ตั้ง 14 ปี เเม่คอยเลี้ยงหนู ตั้งเเต่เท้าเท่าฝาหอย ตอนเด็กๆก็จะ ร้องไห้งอเเง เอาเเต่ใจ ปวดท้องก็ร้อง หิวก็ร้อง ไม่สบายก็ร้อง ตอนเราหิวข้าวเเม่ก้ต้องป้อนข้าวเรากินข้าวเลอะเทอะเเม่ก็ต้องคอยเช็ดให้ เวลาเราไม่สบายแม่ก็คอยหายา ป้อนข้าวป้อนน้ำ เช็ดตัว ตื่นมาคอยดูลูกตลอดเวลา เพื่อไม่ให้พวกเราเป็นอะไร คำว่า  ‘แม่’ คำคำนี้เป็นคำที่ใช้เรียกผู้เป็นมารดา ฉันเองก็เรียกมารดาของฉันว่าแม่เช่นกัน แล้ว ‘แม่’ คืออะไรล่ะสำหรับฉันแล้ว แม่คือที่พักพิง ไม่ว่าจะเป็นเวลาเศร้า ทุกข์ สุข หรือเสียใจ แม่จะมีคำปลอบใจดีๆ ให้ฉันเสมอแม่คือบ้าน บ้านที่เราอยู่ด้วยแล้วอบอุ่นที่สุด บ้านที่ฉันรัก และไม่จากไปไหนแม่คือรถยนต์ รถที่คอยมารับและส่งฉันไปที่โรงเรียนเสมอโดยไม่บ่นสักคำหนึ่งแม่คือพจนานุกรม ที่เมื่อฉันถามอะไรท่านก็จะตอบ และไม่เคยกล่าวหาว่าฉันถามมากเกินไป แม่คือผู้มีพระคุณ ที่ให้ชีวิตแก่ฉัน ให้ฉันเกิดมาดูโลกแม่คือครู ครูที่สอนให้ฉันพูด สอนให้ฉันเดินมาตั้งแต่ฉันยังเป็นเด็กเล็กๆ เป็นครูที่ช่วยฉันทำการบ้านอยู่เป็นประจำ คอยชมเมื่อฉันทำสิ่งที่ดี และคอยสั่งสอนยามที่ฉันทำสิ่งที่ย่ำแย่แม่คือน้ำ ที่คอยหล่อเลี้ยงชีวิตของฉันให้มีความสุขแม่คืออาหาร ที่ทำให้ฉันเติบโตและแข็งแรงสมบูรณ์แม่คือผ้าห่ม ที่ให้ความอบอุ่นแก่ฉันมาตลอดแม่คือยา ที่ดูแลฉันในตอนที่ฉันไม่สบายไม่ว่าจะหนักหรือเบา แม่จะเป็นห่วงฉันเสมอแม่คือทุกๆ สิ่ง ทุกๆ อย่างในชีวิตของฉัน ต่อไปนี้ฉันจะทำเพื่อเเม่ จะดูเเล่วเเม่ให้เท่ากับที่เเม่ดูเเล เเละ สั่งสอนฉันมาจน ตอนนี้ อายุ 14 ปี ฉันจะเป็นเด็กดีของพ่อแม่ ไม่ให้ท่านทุกข์ใจ ดูเเลท่าน ให้มากที่สุดเท่าที่ลูกคนหนึ่งจะทำเพื่อเเม่ได้ จะไม่ทำให้เเม่ลำบาก ไม่ทำให้เเม่หนักใจ เเละลูกเเย่ๆคนนี้ อยากจะขอโทดแม่ที่ เคยทำให้เเม่เสียใจ ร้องไห้ เถียงเเม่ ทำให้แม่ไม่สบายใจ ต่อไปนี้ลูกคนนี้จะทำตัวให้ดี สมกับที่เเม่คลอดหนูออกมา สมกับที่เเม่เลี้ยงหนูมา ขอบคุณเเม่มากเลยนะค่ะ ที่ทำให้หนูมีวันนี้ มีการเรียนที่ดี ต่อไปนี้จะไม่ดื่อกับเเม่ จะฟังเเม่พูดจะให้เเม่บ่น ทั้งหมดที่กล่าวมา หนูเเค่อยากจะบอกกับผู้หญิงคนหนึ่งที่หนูรักมาก เธอเป็นคนเก่ง คนตัวอย่างที่ดีให้กับหนู มีคำสั้นๆคำหนึ่งอยากจะบอกเธอคนนั้นว่า หนูรักเเม่มากๆเลยนะค่ะ 




วันอังคารที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

งานการปลูกผักของฉัน

งานการปลูกผักของฉัน
วัน อังคาร ที่ 21 เดือน กรกฏาคม พ.ศ. 2558 ในเวลาก่อนหน้านี้ก่อนที่จะโพสนี้ไม่กี่นาที ตอน ประมาณ 13.40 กว่าๆ วิชา คอมพิวเตอร์ของ อาจารย์พรสัมฤทธิ์ อยู่ตระกูล ได้ให้งานกับฉันเรื่องงานๆ คือการให้นำผักเหลือใช้มาตัดให้เหลือโคนต้นเเละราก เเช่น้ำไว้ 2 สัปดาห์ หรือ 14 วัน ให้ถ่ายรูปมาส่ง จำนวน 14 รูป เเต่มีเพื่อนของเราบางคนได้ ฉลาด ทำวันเดียว โดยการตัดออกเเล้วถ่ายรุปมาส่งอาจารย์ 14 รูป มีมาส่งเเค่ 23 คน อีก 20 คนไม่ได้เอามาส่ง เพื่อนที่ไม่ได้เอามาส่งจึงโดนลุกนั่งไป 40 ครั้ง จาก 860 ครั้ง เเต่พวกเราที่เอามา ต้องโดนลงโทษเพราะถ่ายมาวันเดียวกันเเต่มีส่ง จึงโดน ปั้นจิ้งหริด ซ้าย 3 ครั้ง ขวา 3 ครั้ง จึงมาเล่าให้ฟังในวันนี้นะค่ะ ชีวิตดี๊ดี อ่ะ

วันจันทร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

เครือข่ายคอมพิวเตอ

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือ คอมพิวเตอร์เน็ตเวิร์ก (อังกฤษcomputer network; ศัพท์บัญญัติว่า ข่ายงานคอมพิวเตอร์) คือเครือข่ายการสื่อสารโทรคมนาคมระหว่างคอมพิวเตอร์จำนวนตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไปสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ การเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่างๆในเครือข่าย (โหนดเครือข่าย) จะใช้สื่อที่เป็นสายเคเบิลหรือสื่อไร้สาย เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่รู้จักกันดีคือ อินเทอร์เน็ต
การที่ระบบเครือข่ายมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในปัจจุบัน เพราะมีการใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นถึงกัน เพื่อเพิ่มความสามารถของระบบให้สูงขึ้น และลดต้นทุนของระบบโดยรวมลง
การโอนย้ายข้อมูลระหว่างกันในเครือข่าย ทำให้ระบบมีขีดความสามารถเพิ่มมากขึ้น การแบ่งการใช้ทรัพยากร เช่น หน่วยประมวลผลหน่วยความจำ,หน่วยจัดเก็บข้อมูลโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีราคาแพงและไม่สามารถจัดหามาให้ทุกคนได้ เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องกราดภาพ (scanner) ทำให้ลดต้นทุนของระบบลงได้
อุปกรณ์เครือข่ายที่สร้างข้อมูล, ส่งมาตามเส้นทางและบรรจบข้อมูลจะเรียกว่าโหนดเครือข่าย. โหนดประกอบด้วยโฮสต์เช่นเซิร์ฟเวอร์, คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและฮาร์ดแวร์ของระบบเครือข่าย อุปกรณ์สองตัวจะกล่าวว่าเป็นเครือข่ายได้ก็ต่อเมื่อกระบวนการในเครื่องหนึ่งสามารถที่จะแลกเปลี่ยนข้อมูลกับกระบวนการในอีกอุปกรณ์หนึ่งได้
เครือข่ายจะสนับสนุนแอปพลิเคชันเช่นการเข้าถึงเวิลด์ไวด์เว็บ, การใช้งานร่วมกันของแอปพลิเคชัน, การใช้เซิร์ฟเวอร์สำหรับเก็บข้อมูลร่วมกัน, การใช้เครื่องพิมพ์และเครื่องแฟ็กซ์ร่วมกันและการใช้อีเมลและโปรแกรมส่งข้อความโต้ตอบแบบทันทีร่วมกัน

การเชื่อมโยงเครือข่าย

สื่อกลางการสื่อสารที่ใช้ในการเชื่อมโยงอุปกรณ์เพื่อสร้างเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยสายเคเบิลไฟฟ้า (HomePNA, สายไฟฟ้าสื่อสาร, G.hn), ใยแก้วนำแสง และคลื่นวิทยุ (เครือข่ายไร้สาย) ในโมเดล OSI สื่อเหล่านี้จะถูกกำหนดให้อยู่ในเลเยอร์ที่ 1 และที่ 2 หรือชั้นกายภาพและชั้นเชื่อมโยงข้อมูล
ครอบครัวของสื่อการสื่อสารที่ถูกพัฒนาอย่างกว้างขวางและถูกนำมาใช้ในเทคโนโลยีเครือข่ายท้องถิ่น (LAN) เรียกว่า อีเธอร์เน็ต มาตรฐานของสื่อกลางและของโพรโทคอลที่ช่วยในการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ในเครือข่ายอีเธอร์เน็ตถูกกำหนดโดยมาตรฐาน IEEE 802. อีเธอร์เน็ตในโลกไซเบอร์มีทั้งเทคโนโลยีของ LAN แบบใช้สายและแบบไร้สาย อุปกรณ์ของ LAN แบบใช้สายจะส่งสัญญาณผ่านสื่อกลางที่เป็นสายเคเบิล อุปกรณ์ LAN ไร้สายใช้คลื่นวิทยุหรือสัญญาณอินฟราเรดเป็นสื่อกลางในการส่งผ่านสํญญาณ

เทคโนโลยีแบบใช้สาย

เทคโนโลยีแบบใช้สายต่อไปนี้เรียงลำดับตามความเร็วจากช้าไปเร็วอย่างหยาบๆ
รูปแสดงสาย UTP
สายคู่บิดเป็นสื่อที่ใช้กันอย่างแพร่หลายที่สุดสำหรับการสื่อสารโทรคมนาคมทั้งหมด สายคู่บิดประกอบด้วยกลุ่มของสายทองแดงหุ้มฉนวนที่มีการบิดเป็นคู่ๆ สายโทรศัพท์ธรรมดาที่ใช้ภายในบ้านทั่วไปประกอบด้วยสายทองแดงหุ้มฉนวนเพียงสองสายบิดเป็นคู่ สายเคเบิลเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (แบบใช้สายอีเธอร์เน็ตตามที่กำหนดโดยมาตรฐาน IEEE 802.3) จะเป็นสายคู่บิดจำนวน 4 คู่สายทองแดงที่สามารถใช้สำหรับการส่งทั้งเสียงและข้อมูล การใช้สายไฟสองเส้นบิดเป็นเกลียวจะช่วยลด crosstalk และการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้าระหว่างสายภายในเคเบิลชุดเดียวกัน ความเร็วในการส่งอยู่ในช่วง 2 ล้านบิตต่อวินาทีถึง 10 พันล้านบิตต่อวินาที สายคู่บิดมาในสองรูปแบบคือคู่บิดไม่มีต้วนำป้องกัน(การรบกวนจากการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้าภายนอก) (unshielded twisted pair หรือ UTP) และคู่บิดมีตัวนำป้องกัน (shielded twisted pair หรือ STP) แต่ละรูปแบบออกแบบมาหลายอัตราความเร็วในการใช้งานในสถานการณ์ต่างกัน
รูปแสดง STP จะเห็น sheath ที่เป็นตัวนำป้องกันอยู่รอบนอก
สายโคแอคเชียลถูกใช้อย่างแพร่หลายสำหรับระบบเคเบิลทีวี, ในอาคารสำนักงานและสถานที่ทำงานอื่นๆ ในเครือข่ายท้องถิ่น สายโคแอคประกอบด้วยลวดทองแดงหรืออะลูมิเนียมเส้นเดี่ยวที่ล้อมรอบด้วยชั้นฉนวน (โดยปกติจะเป็นวัสดุที่มีความยืดหยุ่นกับไดอิเล็กทริกคงที่สูง) และล้อมรอบทั้งหมดด้วยตัวนำอีกชั้นหนึ่งเพื่อป้องกันการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้าจากภายนอก ฉนวนไดอิเล็กทริกจะช่วยลดสัญญาณรบกวนและความผิดเพี้ยน ความเร็วในการส่งข้อมูลอยู่ในช่วง 200 ล้านบิตต่อวินาทีจนถึงมากกว่า 500 ล้านบิตต่อวินาที
รูปแสดงสายโคแอคเชียล
'ITU-T G.hn เป็นเทคโนโลยีที่ใช้สายไฟที่มีอยู่ในบ้าน (สายโคแอค, สายโทรศัพท์และสายไฟฟ้า) เพื่อสร้างเครือข่ายท้องถิ่นความเร็วสูง (ถึง 1 Gb/s)
ใยแก้วนำแสง เป็นแก้วไฟเบอร์ จะใช้พัลส์ของแสงในการส่งข้อมูล ข้อดีบางประการของเส้นใยแสงที่เหนือกว่าสายโลหะก็คือมีการสูญเสียในการส่งน้อยและมีอิสรภาพจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและมีความเร็วในการส่งรวดเร็วมากถึงล้านล้านบิตต่อวินาที เราสามารถใช้ความยาวคลื่นที่แตกต่างของแสงที่จะเพิ่มจำนวนของข้อความที่ถูกส่งผ่านสายเคเบิลใยแก้วนำแสงพร้อมกันในเส้นเดียวกัน

เทคโนโลยีไร้สาย

'ไมโครเวฟบนผิวโลก - การสื่อสารไมโครเวฟบนผิวโลกจะใช้เครื่องส่งและเครื่องรับสัญญาณจากสถานีบนผิวโลกที่มีลักษณะคล้ายจานดาวเทียม ไมโครเวฟภาคพื้นดินอยู่ในช่วงกิกะเฮิรตซ์ที่ต่ำ ซึ่งจำกัดการสื่อสารทั้งหมดด้วยเส้นสายตาเท่านั้น สถานีทวนสัญญาณมีระยะห่างประมาณ 48 กิโลเมตร (30 ไมล์)
ดาวเทียมสื่อสาร - การสื่อสารดาวเทียมผ่านทางคลื่นวิทยุไมโครเวฟที่ไม่ได้เบี่ยงเบนโดยชั้นบรรยากาศของโลก ดาวเทียมจะถูกส่งไปประจำการในอวกาศ ที่มักจะอยู่ในวงโคจร geosynchronous ที่ 35,400 กิโลเมตร (22,000 ไมล์) เหนือเส้นศูนย์สูตร ระบบการโคจรของโลกนี้มีความสามารถในการรับและถ่ายทอดสัญญาณเสียง, ข้อมูลและทีวี
ระบบเซลลูลาร์และ PCS ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารวิทยุหลายเทคโนโลยี ระบบแบ่งภูมิภาคที่ครอบคลุมออกเป็นพื้นที่ทางภูมิศาสตร์หลายพื้นที่ แต่ละพื้นที่มีเครื่องส่งหรืออุปกรณ์เสาอากาศถ่ายทอดสัญญาณวิทยุพลังงานต่ำเพื่อถ่ายทอดสัญญาณเรียกจากพื้นที่หนึ่งไปยังอีกพื้นที่หนึ่งข้างหน้า
เทคโนโลยีวิทยุและการแพร่กระจายสเปกตรัม - เครือข่ายท้องถิ่นไร้สายจะใช้เทคโนโลยีวิทยุความถี่สูงคล้ายกับโทรศัพท์มือถือดิจิทัลและเทคโนโลยีวิทยุความถี่ต่ำ. LAN ไร้สายใช้เทคโนโลยีการแพร่กระจายคลื่นความถี่เพื่อการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์หลายชนิดในพื้นที่จำกัด. IEEE 802.11 กำหนดคุณสมบัติทั่วไปของเทคโนโลยีคลื่นวิทยุไร้สายมาตรฐานเปิดที่รู้จักกันคือ Wifi
การสื่อสารอินฟราเรด สามารถส่งสัญญาณระยะทางสั้นๆมักไม่เกิน 10 เมตร ในหลายกรณีส่วนใหญ่ การส่งแสงจะใช้แบบเส้นสายตา ซึ่งจำกัดตำแหน่งการติดตั้งของอุปกรณ์การสื่อสาร
เครือข่ายทั่วโลก (global area network หรือ GAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้สำหรับการสนับสนุนการใช้งานมือถือข้ามหลายๆ LAN ไร้สาย หรือในพื้นที่ที่ดาวเทียมครอบคลุมถึง ฯลฯ ความท้าทายที่สำคัญในการสื่อสารเคลื่อนที่คือการส่งมอบการสื่อสารของผู้ใช้จากพื้นที่หนึ่งไปอีกพื้นที่หนึ่ง ใน IEEE 802 การส่งมอบนี้เกี่ยวข้องกับความต่อเนื่องของ LAN ไร้สายบนผิวโลก .

วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2558

หอมแผ่นดิน ตอน คืนชีวิตให้แผ่นดิน 22 กุมภาพันธ์ 2558
เกษตรกร ผู้ทำสวนผสม อ.ร้องกวาง จ.เเพร่



หอมแผ่นดิน ตอน รอยเท้าที่ใหญ่กว่า 22 มีนาคม 2558

ติดตามเรื่องราวย้อนหลัง รอยเท้าที่ใหญ่กว่า 22 มีนาคม 2558 




รายการหอมแผ่นดิน ตอน เศรษฐกิจพอใจ

แม่คำตา โสนะชัย เกษตรกรทำสวนขจร บ้านดอนเรือ ต.ดอนโอง อ.โพธิ์ชัย จ.ร้อยเอ็ด


วันจันทร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2558

เศรษฐกิจพอเพียง

                     เศรษฐกิจพอเพียง  
เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิต
แก่ พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๒๕ ปี ตั้งแต่ก่อนวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรง
เน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์
และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
     เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับ
ครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะ
การพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์
     ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผลรวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
พอสมควรต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุก
ขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐนักทฤษฎีและ
นักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริตและให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วย
ความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลง
อย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
     ประมวลและกลั่นกรองจากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งพระราชทานในวโรกาสต่าง ๆ รวมทั้งพระราชดำรัสอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำไปเผยแพร่ เมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๒ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติของทุกฝ่ายและ
ประชาขนโดยทั่วไป
3 ห่วง คือทางสายกลาง ประกอบไปด้วย ดังนี้

  • ห่วงที่ 1 คือ พอประมาณ หมายถึง พอประมาณในทุกอย่าง ความพอดีไม่มากหรือว่าน้อยจนเกินไปโดยต้องไม่เบียดเบียนตนเอง หรือผู้อื่นให้เดือดร้อน
  • ห่วงที่ 2 คือ มีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ
  • ห่วงที่ 3 คือ มีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวเอง หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านการต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล

2 เงื่อนไข ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่

เงื่อนไขที่ 1 เงื่อนไขความรู้ คือ มีความรอบรู้เกี่ยวกับ วิชาการต่างๆที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการ วางแผน และความระมัดระวังในขั้นตอนปฏิบัติ คุณธรรมประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

เงื่อนไขที่ 2 เงื่อนไขคุณธรรม คือ มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

นั่นคือสรุปรวบยอดของ เศรษฐกิจพอเพียง สรุปได้เป็น 3 ห่วง 2 เงื่อนไข ดังที่ได้กล่าวมา หลายๆคนอ่านมาจนถึงบรรทัดนี้ แล้วคงกระจ่างกันสักที เกี่ยวกับ เศรษฐกิจพอเพียงแบบ 3 ห่วง 2 เงื่อนไข ดังที่ได้กล่าวไปแล้วนั้น


เศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข


ที่มา   http://www.eto.ku.ac.th/s-e/mean-th.html
              http://xn--12cmc4a2ea2ac8bl2czera7lj.net/3%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%872%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%82.html
               
         

วันจันทร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ซอฟต์แวร์

ซอฟต์แวร์

ซอฟต์แวร์ (อังกฤษsoftware) หรือ ส่วนชุดคำสั่ง [1] หรือบางครั้งมีการสะกดว่า ซอฟ‌ท์แวร์ เป็นส่วนของระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูล ซอฟต์แวร์นั้นนอกจากจะสามารถใช้งานบนคอมพิวเตอร์ได้แล้ว ยังสามารถใช้งานบนเครื่องใช้ หรืออุปกรณ์อื่น เช่น โทรศัพท์มือถือ หรือหุ่นยนต์ในโรงงาน หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ คำว่า "ซอฟต์แวร์" ใช้ครั้งแรกโดย จอห์น ดับเบิลยู. เทอร์กีย์ (John W. Turkey) ในปี พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) โดยแนวคิดของซอฟต์แวร์ปรากฏครั้งแรกในเรียงความของแอลัน ทัวริง บิดาของวิทยาการคอมพิวเตอร์กล่าวกันว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ชิ้นแรกของโลกเขียนโดยเอดา ไบรอน เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับเครื่องวิเคราะห์ (analytical engine) ของชาร์ลส แบบเบจ

ประเภทของซอฟต์แวร์

การแบ่งประเภทของซอฟต์แวร์แบ่งออกได้เป็นหลายแบบ เช่น
  1. การแบ่งเชิงเทคนิค อาจแบ่งซอฟต์แวร์เป็น 3 ประเภทหลักคือ
  2. การแบ่งตามรูปแบบการส่งมอบ แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มคือ
    • ซอฟต์แวร์สำเร็จรูป (Package software) ซอฟต์แวร์ที่มีการขาย ให้เช่า หรือให้บริการ โดยคิดค่าบริการเป็น transaction หรือ license
    • ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาเงินเดือน (Outsources software development) เป็นการออกแบบและพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อใช้งานเฉพาะกับงานประเภทต่าง ๆ เฉพาะกิจกรรมไป ส่วนใหญ่ลิขสิทธิ์ของซอฟต์แวร์นี้จะเป็นของผู้ที่ว่าจ้างให้พัฒนาขึ้น
  3. การแบ่งตามประเภทของการนำไปใช้งานหลัก แบ่งได้เป็น 3 กลุ่มคือ
    • ซอฟต์แวร์ช่วยในการบริหารจัดการทั่วไป (Enterprise software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้กับการทำงานเพื่อแก้ปัญหา/จัดการทรัพยากรของ บุคคล/องค์กร เช่น ซอฟต์แวร์บัญชี ซอฟต์แวร์จัดทำเอกสาร เป็นต้น
    • ซอฟต์แวร์สำหรับอุปกรณ์พกพาขนาดเล็ก (Mobile applications software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำงานผ่านระบบปฏิบัติการพิเศษบนอุปกรณ์ขนาดเล็ก เช่น โทรศัพท์มือถือ PDA โดยสามารถแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ 2 กลุ่ม คือ (1) ซอฟต์แวร์เพื่อสนับสนุนธุรกรรมทางธุรกิจ (Business applications) เช่น Mobile banking, Mobile payment, GPS on Mobile, Mobile applications for business process management และ(2) ซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับนันทนาการและบันเทิง (Entertainment applications) ซึ่งรวมเกมบนโทรศัพท์เคลื่อนที่
    • ซอฟต์แวร์สมองกลฝังตัว (Embedded System Software) เป็นซอฟต์แวร์ซึ่งฝังอยู่ไว้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เพื่อใช้สำหรับควบคุมการทำงานของอุปกรณ์นั้นๆ เช่น ระบบ GPRS ระบบทำความเย็นอัจริยะ ระบบตรวจสอบย้อนกลับ เป็นต้น
    • ซอฟต์แวร์ กับ ไลบรารี

    • ซอฟต์แวร์แตกต่างกับไลบรารี คือซอฟต์แวร์สามารถนำมาประมวลผลได้ด้วยตัวเอง ในขณะที่ไลบรารีเป็นส่วนประกอบของซอฟต์แวร์และไม่สามารถนำมาใช้ประมวผลด้วยตนเองได้
    • ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/